วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่8

สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย


(The Magazine Association of Thailand: TMAT)



สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 โดยการนำของคณะผู้ก่อตั้ง คือ



คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคม

คุณพรรทิภา สกุลชัย ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสมาคม

คุณศักดิ์ชัย กาย ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสมาคม

คุณหญิงสุวิมล ผึ่งประเสริฐ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณศุภกรณ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณเอกสิทธิ์ โชติภักดีตระกูล ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณสันติ ส่งเสริมสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณสุทธิศักดิ์ โล่สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณลายคราม เลิศวิทยาประสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณเสก ตันจำรัส ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณฤทธิ์ณรงค์ กุลประสูตร ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณฐิติกร ธีรพัฒนวงศ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณชเยนทร์ คำนวณ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณศิริพงษ์ ว่องวุฒิพรชัย ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณศรินธร จันทรประเสริฐ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ

คุณสุภาวดี โกมารทัต ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเหรัญญิก

คุณวิลักษณ์ โหลทอง ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขาธิการ



ด้วยวิสัยทัศน์ของเหล่านักบริหารผู้ก่อตั้ง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดทำนิตยสารให้มีคุณภาพสูง และกว้างขวางยิ่งขึ้น สมาคมฯ จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเป็นศูนย์กลางประสานงาน และติดต่อกับสมาคม องค์กร หรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำนิตยสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ให้มีความสอดคล้อง กับความต้องการของตลาด โดยไม่ดำเนินการทางการค้า หรือเกี่ยวข้องกับการเมือง



นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมอันมีประโยชน์ทางวิชาชีพแก่สมาชิก ให้คำปรึกษาทางธุรกิจด้านการซื้อขายลิขสิทธิ์ การจัดจำหน่ายนิตยสารกับต่างประเทศ ให้บริการแก่สังคมด้านสารประโยชน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในทุกระดับอายุ ทั้งยังรณรงค์ให้ผู้จัดทำนิตยสารมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข้อมูลต่อสังคม ที่สำคัญ สมาคมฯ คือตัวแทนในการนำเสนอความคิดเห็น หรือยื่นเรื่องราวต่อทางราชการ องค์การที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำนิตยสารโดยรวม โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือสมาชิกในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบัน สมาคมฯ มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 42 บริษัท นับเป็นผู้ผลิตนิตยสารรวมกว่า 150 ปก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2550)



ก้าวสำคัญ...สู่ความเป็นสากล

สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของ สมาคมนิตยสารโลก (Federation Internationale de la Presse Periodiques ,FIPP) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริม พัฒนา ช่วยเหลือและประสานงาน ในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตนิตยสารระดับโลก ซึ่งปัจจุบัน มีสมาชิกกว่า 700 ราย ทั่วโลก
อ้างอิงจากhttp://www.magazinedee.com/information/informationpreview.php?id=5

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

นิตยสารเล่มแรกของกรุงสยาม


การพิมพ์หนังสือของไทยในยุคเริ่มแรกนั้นอยู่ในมือของชาวต่างประเทศเสียทั้งสิ้น เช่น หมอบรัดเล (Dan Beach Bradley) หมอจันทเล (J.H. Chandler) และหมอสมิธ (Samuel John Smith) กล่าวกันว่า มิชชันนารีเหล่านี้มาเผยแพร่ศาสนา พร้อมกับนำวิทยาการต่างๆ เข้ามาเผยแพร่ รวมทั้งการพิมพ์หนังสือด้วย

การริเริ่มในด้านการพิมพ์ของหมอบรัดเล ประกอบกับความสามารถในด้านการรักษาคนไข้ของหมอ ทำให้ชื่อเสียงของหมอขจรขจายไปไกล

ในสมัยก่อนนั้น การสื่อสารของคนไทยเป็นการสื่อสารแบบปากเปล่า การถ่ายถอดความรู้มักบันทึกลงในสมุดข่อย แล้วคัดลอกกันในหมู่ผู้รู้หนังสือ ส่วนการสื่อสารจากทางราชการมายังประชาชนนั้น ใช้วิธีการเขียนใบบอกซึ่งกรมพระอาลักษณ์จะได้รับพระบรมราชโองการ ให้จารึกลงบนกระดาษข่อยแล้วปิดไว้ที่หอหลวง ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนตามหัวเมืองและส่วนราชการอื่นๆ นั้น จะคัดลอกใบบอกดังกล่าว ซึ่งด้วยเหตุผลทางการคมนาคม ทำให้การคัดลอกเป็นต่อๆ กันนั้นเกิดความผิดพลาดได้ง่าย นอกเหนือไปจากความล่าช้า และบางครั้งยังเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ประพฤติมิชอบ ใช้หลอกลวงและข่มขู่ราษฎรที่ไม่รู้หนังสืออีกด้วย
เมื่อกำเนิดกิจการการพิมพ์ของหมอบรัดเล รวมถึงชื่อเสียงของหมอ ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระเมตตาโปรดเกล้าฯ ให้หมอบรัดเลพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและค้าฝิ่น จำนวน ๙,๐๐๐ ฉบับ นับได้ว่าเป็น ประกาศของทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์ แทนการเขียนลงในใบบอก

เมื่อมีแท่นพิมพ์และได้พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นแล้ว หมอบรัดเลจึงมีความคิดที่จะพิมพ์นิตยสารขึ้น เขาได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้เหตุผลว่า นิตยสารจะเป็นสื่อกลางให้แต่ละคนทราบว่า ใครอยู่ที่ไหน ทำอะไร รวมทั้งได้เสนอข่าวสารต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชาวไทย ในขณะนั้นหมอบรัดเลมีความรู้แตกฉานในด้านภาษาไทยมากแล้ว เพราะมาอยู่เมืองไทยถึง ๙ ปี จึงตกลงใจที่จะพิมพ์นิตยสารเป็นภาษาไทย แม้ในตอนแรกจะโดนคัดค้านจากพวกขุนนาง ซึ่งกลัวฝรั่งจะยึดครองเมืองอย่างไรก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่ท้ายที่สุดในหลวงก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตด้วยเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคต หมอจึงได้ออกนิตยสารฉบับแรก ชื่อว่า บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) หรือจดหมายเหตุอย่างสั้น

อ้งอิงจาก http://www.magazinedee.com/information/informationpreview.php?id=2&subid=1

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6

ผลประโยชน์ลงตัวสำหรับการสมัครสมาชิกนิตยสารแบบรายปีบน iPad


หลังจากที่ง้องแง้งกันมาพักนึกระหว่างแอปเปิ้ลกับบรรดานิตยสารต่าง ๆ ที่แอปเปิ้ลไม่ยอมเปิดให้สมัครสมาชิกนิตยสารแบบรายปีบนแอพฯสำหรับ iPad ตอนนี้เจรจากันได้เรียบร้อย รอสมัครสมาชิกได้กันเลย

หลังจากที่ก่อนหน้านี้นิตยสาร Sport illustrated เปิดให้ผู้ใช้ iPad สามารถสมัครสมาชิกนิตยสารแบบรายปี แต่กระนั้นการสมัครสมาชิกเป็นการสมัครผ่านหน้าเว็บของ Sport illustrated จึงทำให้เงินไม่ได้ผ่านทาง App Store ซึ่งทำให้แอปเปิ้ลเสียรายได้จากค่าหัวคิว 30% ไป ซึ่งในขณะนั้นแอปเปิ้ลก็ได้ทำการถอดตัวแอพฯที่มีการบอกรับสมาชิกไปในนาทีสุดท้าย จึงทำให้นิตยสารที่เป็นแอพฯสำหรับ iPad ยังคงจำหน่ายแบบเล่มเดี่ยว ๆ กันต่อจนมาถึงทุกวันนี้

ล่าสุดหลังจากที่มีปัญหากันมานานร่วมเดือนแอปเปิ้ลและทางค่ายนิตยสารต่าง ๆ ก็ได้เจรจาตกลงกันเรียบร้อย โดยเฉพาะ Time Inc. ที่เป็นเจ้าของนิตยสารชั้นนำอย่าง Time, Sports Illustrated, Fortune ที่จะมีการอัพเดทตัวแอพฯของแต่ละนิตยสารในเดือนหน้าให้มีการสมัครสมาชิกนิตยสารแบบรายปี ซึ่งในอนาคตการสมัครสมาชิกนิตยสารในเครือ Time Inc ก็คงเป็นบรรทัดฐานให้กับนิตยสารอื่น ๆ ที่ต้องการขายแบบรายปีอีกด้วย
อ้างอิจากhttp://www.siampod.com/2010/08/20/subscriptions-to-ipad-magazines/

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5

รู้จัก อสท


หากย้อนวันเวลากลับไปเมื่อ ๔๗ ปีก่อน คนกลุ่มเล็ก ๆ ในองค์กรของรัฐที่ตั้งขึ้นใหม่ในนาม องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) ได้ให้กำเนิดวารสารรายเดือนเล่มเล็ก ๆ ขึ้นมาเล่มหนึ่ง ใช้ชื่อย่อขององค์กรเป็นชื่อหนังสือว่า “อนุสาร อ.ส.ท.” เป็นหนังสือขนาด ๘ หน้ายก หนาเพียง ๔๘ หน้า ปกพิมพ์สี่สี เนื้อในพิมพ์สีเดียว มียอดพิมพ์ ๑๐,๐๐๐ เล่ม ตั้งราคาจำหน่ายไว้ฉบับละ ๑.๕๐ บาท วางตลาดฉบับปฐมฤกษ์ในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๓

แม้จะเป็นการท้าทายและเสี่ยงต่อความล้มเหลวเป็นอย่างยิ่งในยามนั้น เพราะแค่เพียงคำว่า “ท่องเที่ยว” และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในปีเดียวกัน ก็ยังเป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยของผู้คนในยุคนั้น และคงไม่มีใครจะคาดคิดว่าองค์กรแห่งนี้จะเติบโตขึ้นจนกลายเป็นองค์กรที่สำคัญของประเทศชาติอย่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปัจจุบัน

แต่ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลของผู้นำรัฐบาลในขณะนั้น ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีผู้มีบัญชาให้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้ พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์ รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มที่จะจัดให้มีวารสารเพื่อเป็นสื่อบอกเล่าเรื่องราวของการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว และงานของ อ.ส.ท. ให้ประชาชนคนไทยได้รับทราบ
อนุสาร อ.ส.ท. จึงได้เริ่มต้นขึ้น โดย พลโทเฉลิมชัย จารุวัสตร์ รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการคนแรก พร้อมทั้งทีมงานยุคบุกเบิกอีกหลายคน ทำให้อนุสาร อ.ส.ท. กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมในเวลาอันรวดเร็ว และพัฒนาเติบโตขึ้นจากฝีมือและการทุ่มเทแรงกายแรงใจ จิตวิญญาณ และแม้กระทั่งชีวิตของนักเดินทาง นักเขียน ช่างภาพ คนทำหนังสืออีกมากมายหลายรุ่น ซึ่งล้วนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ให้อนุสาร อ.ส.ท. เป็นนิตยสารรายเดือนที่ได้รับความนิยมอย่างสูงยิ่งและหยัดยืนอย่างมั่นคงในปัจจุบัน

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4

บทบาทของนิตยสารรายเดือน


Sharในจำนวนสื่อที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกปัจจุบัน สื่อประเภทนิตยสาร ถือเป็นสื่อที่มีความเสียเปรียบสื่ออื่นมากที่สุด หากวัดในแง่ของความรวดเร็วในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารถึงผู้อ่าน
เนื่องจากปัจจุบันการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ฉับพลัน ทันทีที่มีเหตุการณ์อะไรสำคัญๆ เกิดขึ้น คนทั่วไปสามารถรับรู้เรื่องราวเหล่านั้นได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที
และเหตุการณ์เหล่านี้ยังสามารถถูกนำมาขยายความ หรือเพิ่มเติมเนื้อหาให้มากขึ้นอีกในวันรุ่งขึ้นจากสื่อที่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน
อ้างอิงจาก http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=56037

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

ประเภทของนิตยสาร (Magazine)





การแบ่งประเภทนิตยสารตามลักษณะเนื้อหาที่เน้นการนำเสนอและผู้อ่านให้ความสนใจการแบ่งในลักษณะนี้มักแบ่ง แยกย่อยเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ นิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine) และผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)

ประเภทของนิตยสาร (Magazine)

การแบ่งประเภทนิตยสารตามลักษณะเนื้อหาที่เน้นการนำเสนอและผู้อ่านให้ความสนใจการแบ่งในลักษณะนี้มักแบ่ง แยกย่อยเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ นิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine) และผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)


อ้างอิงจาก http://thante.com/wbiprinting/WBI/wbi
 

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่2



การตีพิมพ์


องค์ประกอบของนิตยสารอาจมีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก องค์ประกอบหลัก เช่น วาระการออก รูปแบบ เป้าหมายกลุ่มผู้อ่านมีความผันแปรหาความตายตัวไม่ได้ นิตยสารบางฉบับจะเจาะเรื่องที่น่าสนใจเฉพาะ เช่น เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะ งานอดิเรก หรือการเมือง รวมทั้งแนวศิลปะ บันเทิง แฟชั่น รถยนต์ ท่องเที่ยวระยะการออกจึงมีตั้งแต่รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน ราย 3 เดือน (quarterly) ราย 6 เดือนไปจนถึงรายปี
ปกตินิตยสารจะมีวันที่ปรากฏบนปกซึ่งมักล่าจากวันที่วางตลาด นิตยสารเกือบทั้งหมดจะวางจำหน่ายตามร้านและแผงขายหนังสือทั่วประเทศ ผู้บอกรับเป็นสมาชิกจะได้รับนิตยสารทางไปรษณีย์
นิตยสารส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในจำนวนที่มากและพยายามทำให้ต้นทุนการพิมพ์ต่ำเพื่อให้มีราคาขายต่ำ นิตยสารบางประเภทที่มีต้นทุนการพิมพ์สูงมักอาศัยการลงโฆษณามาช่วยลดราคาขายให้ต่ำลง
นิตยสารทุกเล่ม จะต้องขออนุญาตจัดพิมพ์จากทางราชการ และได้รับหมายเลขสากลประจำนิตยสาร เรียกว่า ISSN (International Standard Serial Number) ซึ่งนิตยสารจะตีพิมพ์ไว้ในส่วนที่เห็นชัดของเล่ม เช่น ปกหน้า สารบัญ สันปก หรือปกหลัง
อ้างอิงจาก  http://th.wikipedia.org/

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่1


นิตยสาร (magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้
คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร
อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wik

มาตรฐานบล้อกนักศึกษา




ขอให้นักศึกษาสร้างบล็อก ตามมาตรฐานดังนี้นะคะ




1. ตั้งชื่อบล็อกโดยขึ้นต้นด้วย il- แล้วตามด้วยชื่อที่ต้องการ



2. ใส่ชื่อโปรเจ็กไว้ใน Blog Description



3. ใส่รูปภาพใน Profile เพืื่อง่ายต่อการจดจำ



4. ใส่ชื่อสมาชิก พร้อมสาขาวิชาและชั้นปีไว้ที่ Sidebar (เป็นรายการแรก)



ุ5. แจ้ง URL Blog นักศึกษา ที่ http://nawasai77.tweetboard.com/

(จำแนกตามวันที่เรียน)



6. ไม่เผยแพร่ถ้อยคำและภาพที่ไม่เหมาะสม